เปิดประวัติความเป็นมาของงอบไทยใบลาน
การทำงอบไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
รูปแบบทรงของงอบมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
การทำงอบในยุคแรก ๆ
ก็เพื่อใช้สำหรับกันแดดในการทำงานเกษตรกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นชาวนา
แต่ในระยะหลังมีเครื่องจักรเข้ามาทดแทนการเกษตรมากขึ้น จึงทำให้เกษตรกรลดน้อยลง
การใช้งอบลดน้อยลง และคนทำงอบก็ลดน้อยลงเพราะมีรายได้น้อย
ในระยะหลังจึงมีการดัดแปลงการทำงอบจากเดิมที่ใช้เฉพาะสวมใส่เพื่อกันแดดเท่านั้น
ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยมีการตกแต่งงอบให้น่าสนใจมากขึ้น เช่น
การประดับตัวอักษรบนงอบเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงมาเป็น
ของประดับตกแต่ง ของชำร่วย หรือของที่ระลึก เช่น กิ๊บติดผม ต่างหู พวงกุญแจ โคมไฟ
และงอบในกล่องแก้ว เป็นต้น
การทำงอบในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการเชื่อมโยงการทำงานทั้ง
17
ตำบล โดยตำบลบ้านลี่และตำบลทับน้ำจะมีความถนัดในการสานรังงอบ
ส่วนตำบลอื่น ๆ จะถนัดในการติดเย็บใบลาน ผูกขอบ และทำชิ้นส่วนประกอบ โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการทำงอบประกอบด้วยไม้ไผ่และใบลาน
ไม้ไผ่ที่ใช้คือไม้ไผ่สีสุขซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีในพื้นที่อำเภอบางปะหัน
ส่วนใบลานจะนำมาจากจังหวัดปราจีนบุรี เนื่องจากภูมิประเทศของอำเภอบางปะหันไม่เหมาะสำหรับการปลูกต้นลาน
การทำงอบเป็นงานที่ละเอียดอ่อนมีหลายขั้นตอน